เริ่มต้นทำ Podcast ด้วยตัวเองต้องใช้อะไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ

NunUpOrShutup
2 min readAug 7, 2020
ภาพถ่ายโดย Magda Ehlers จาก Pexels

ในช่วงหนึ่งถึงสองปีมานี้ Podcast กำลังเป็นที่นิยมในประเทศไทย มีจำนวนคนจัดรายการและคนฟังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากแต่ก่อนที่เนื้อหาส่วนใหญ่จะมาจากต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษสะเป็นส่วนใหญ่ก็เลยทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยม บวกกับการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่หลายคนอาจจะไม่เข้าใจการใช้งานหรือไม่รู้ต้องใช้อะไรบ้าง จะยุ่งยากหรือเปล่า บทความวันนี้จะแบ่งปันความรู้การเริ่มต้นทำ Podcast สำหรับมือใหม่เพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องใช้อะไรบ้าง เพื่อให้ได้เสียงแบบมืออาชีพ โดยใช้งบประมาณในการลงทุนน้อยแต่ได้ประสิทธิภาพสูง รับรองว่าอ่านจบเปิด Podcast ของตัวเองได้ทันที บอกเลยว่าง่ายมากๆ 😃

https://beatbars.com/blog/best-daw.html

Program(โปรแกรม) ในตอนนี้มีโปรแกรมที่ใช้งานได้ดีและฟรีในท้องตลาดเยอะแยะมากมาย เริ่มกันที่โปรแกรม Audacity เป็นโปรแกรมใช้อัดเสียงและตัดต่อเสียงโดยไม่ว่าจะใช้ Desktop PC หรือ MacOS ก็สามารถโหลดมาใช้ได้ฟรีๆ ไม่เสียตัง ถึงแม้หน้าตาจะไม่ได้ดูดี แต่รับรองว่าใช้ง่าย ได้งานที่มีประสิทธิภาพ ส่วนใครที่ใช้ Mac ก็ง่ายๆเลยเพียงแค่ใช้ Garageband ที่ติดมากับเครื่องสามารถใช้ได้เลยใช้งานง่ายเช่นกัน พร้อมฟังก์ชั่นการทำงานที่น้องๆโปรเฟสชั่นแนลโปรแกรมกันเลยทีเดียว อีกโปรแกรมนึงที่ใช้ได้ทั้งสองระบบปฎิบัติการก็คือ Pro tools First ซึ่งเป็นโปรแกรมที่โปรเฟสชั่นแนลทั่วโลกด้าน Audio ใช้งานกัน โดยตัวนี้จะเป็นเวอร์ชั่นไลท์ ที่สามารถโหลดมาใช้ได้ฟรีแต่จะจำกัดการใช้ฟังก์ชั่นต่างๆและ ให้ Plug-In บางตัวแถมมาเท่านั้น ซึ่งก็เพียงพอสำหรับการทำ Podcast หรือใครที่ทำงานต้องใช้โปรแกรมใน Adobe suite ก็จะมีโปรแกรม Audition ที่ไว้ใช้งานด้านเสียงโดยเฉพาะ ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยโปรแกรมที่กล่าวถึงมานี้เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันในท้องตลาด มีคลิปสอนการใช้งานเบื้องต้นเต็มไปหมดบน Youtube หาดูได้เลยไม่ว่าจะใช้งานด้านไหนมีสอนหมด อีกอย่างนึงไม่ต้องห่วงเรื่องสเปคคอมที่ต้องแรงแพงกระเป๋า เพราะการทำ Podcast จะเน้นที่เสียงเป็นหลัก(Audio File) ซึ่งไฟล์เสียงจะเล็กกว่างานวิดิโอและไม่ได้มีมากมายหลายแทรค(Track) เหมือนการทำเพลง ดังนั้น CPU คอมรุ่นใหม่ๆที่สเปคไม่สูงมากนักสามารถใช้งานได้อย่างแน่นอน แม้แต่ IPad ธรรมดาๆก็ทำได้ชิวๆ หมดกังวลเรื่องความแรงคอมพิวเตอร์ไปได้เลย

ภาพถ่ายโดย Jean Balzan จาก Pexels

Microphone (ไมค์โครโฟน) เมื่อเลือกโปรแกรมได้แล้ว คราวนี้คือพระเอกของการทำ Podcast แล้วล่ะ ในท้องตลาดทั่วไปไมค์โครโฟนมีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับการอัดเสียงแต่ล่ะอย่างแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ในการอัดเสียงร้อง เครื่องดนตรี หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่นิยมใช้ในวงการบันทึกเสียง จะมีไมค์อยู่สองประเภท Dynamic และ Condenser ซึ่งความแตกต่างจะขออธิบายง่ายๆ ไม่ลงลึก เข้าใจได้ง่ายดังนี้ อย่างแรก วัสดุภายในและการใช้งานของไมค์ต่างกัน ไมค์ Dynamic จะมีวัสดุที่เหมาะแก่การใช้งานสมบุกสมบัน ซึ่งจะเห็นได้ตามงาน คอนเสิร์ต ผับ หรืองานอีเว้นต่างๆ สามารถรับย่านความถี่(Frequency range)ได้ประมาณนึงไม่กว้างมากนักซึ่งแน่นอนว่ารับย่านเสียงพูดได้ และใช้พลังงานตำ่ ในขณะที่ไมค์ Condenser วัสดุภายในจะค่อนข้างอ่อนไหวต่อแรงกระแทก รับย่านความถี่ได้กว้างมาก ต้องมีไฟเลี้ยงตลอดเวลาที่ใช้งานที่เขาเรียกกันว่า Phantom power/48V เวลาต่อไมค์ประเภทนี้ใช้งาน จะมีปุ่มบนซาวด์การ์ด (Audio Interface) ให้กดก่อนใช้งานเพื่อปล่อยไฟฟ้าเข้าไป ทั่วๆไปแล้วจะเห็นไมค์ประเภทนี้ได้ตามห้องอัดเสียงที่มีการทำ Accoustic Room มาเป็นอย่างดี เพราะอย่างที่ได้กล่าวไว้ว่า ตัวไมค์รับย่านความถี่ของเสียงได้กว้างมาก ความละเอียดในการใช้งานสูงและแม่นยำ ไม่เหมาะกับที่ที่มีเสียงรบกวนเยอะจะทำให้ได้เสียงที่เราไม่ต้องการเข้ามาด้วย อย่างที่สองคือ ราคา Condenser มีราคาสูงกว่า Dynamic ซึ่งแน่นอนว่าไมค์ทั้งสองแบบต้องต่อพ่วงกับ ซาวด์การ์ด (Audio Interface) แต่ปัจจุบันนี้มีไมค์อีกแบบนึงที่เป็นที่นิยมสำหรับนักจัดรายการ Podcast นั่นก็คือไมค์แบบ USB นั่นเอง เพียงเสียบ USB เข้าไปและตั้งค่า I/O (Input-Output) ก็ใช้งานกับโปรแกรมอัดเสียงได้เลย สะดวก ง่าย แถมไมค์บางเจ้าแถมโปรแกรมมาให้เรียบร้อยเหมือนรู้ว่าจะเอาไปทำอะไรเลยทีเดียว🤪 ซึ่งมีหลากหลายราคาตั้งแต่หลักไม่กี่พันไปจนถึงหมื่นต้นๆก็หามาใช้งานได้แล้ว

ภาพถ่ายโดย Garrett Morrow จาก Pexels

Head Phone (หูฟัง) อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งเอาจริงๆแล้วจะใช้หูฟังแบบไหนก็ได้ แต่ถ้าอยากได้ฟังชัดๆให้เสียงที่เที่ยงตรง เพื่อให้ง่ายต่อการมิกซ์ควรเลือกแบบที่เป็น Monitor ที่ให้เสียง Flat Tone จะดีที่สุด การใช้หูฟังที่มีฟังก์ชั่นเพิ่มเบส หรือ Boose บางย่านความถี่เสียงเข้ามา จะทำให้ได้เสียงที่หลอกไปหน่อย ยากต่อการมิกซ์หรือปรับ EQ ในภายหลัง ยกตัวอย่าง สมมุติใช้หูฟังที่เพิ่มเสียงเบสหนักๆเข้ามา เวลามิกซ์ เราจะนึกว่าเสียงเรามีเบสเยอะไป พอเวลามิกซ์ก็ไปกดเสียงเบสลง พอเวลาฟังในสภาพแวดล้อมจริง เสียงจะออกมาแห้งๆ😓 ผิดปกติ เพราะตอนเราฟังในหูฟังมันมีเบส แต่พอฟังลำโพงทั่วไปที่แต่ละคนก็ปรับนู่นนี่นั่นไม่เหมือนกัน ทำให้ได้เสียงไม่มาตรฐานนั่นเอง นี่คือเหตุผลว่าทำไมควรเลือกหูฟังแบบ Monitor ซึ่งปัจจุบันนี้มีให้เลือกมากมายหลากหลายราคาหาซื้อได้ง่ายไม่เหมือนสมัยก่อนที่ส่วนใหญ่จะเป็นคนในวงการใช้งานกัน หาซื้อยากและราคาสูง

ภาพถ่ายโดย The Teens Network Daytime Show Studios จาก Pexels

Accessories (อุปกรณ์เสริม) Microphone arms ขาตั้งไมค์แบบตั้งโต๊ะ ซึ่งก็มีให้เลือกทั้งแบบขาตั้งเล็กๆวางบนโต๊ะ หรือแบบหนีบกับโต๊ะปรับตำแหน่งได้หลากหลายรูปแบบ

Shock mount ตัวที่ยึดจับไม่โครโฟน จะช่วยในเรื่องป้องกันการสั่นสะเทือนในขณะที่เราพูด เช่นบางทีมืออาจโดนโต๊ะหรืออะไรก็แล้วแต่ มันสะเทือนไปถึงไมค์ทำให้มีเสียงที่เราไม่ต้องการเข้ามาได้ ซึ่งไมค์ condenser ราคาแพงๆมักจะมีแถมเจ้าตัวนี้มาให้

Pop filter/Foam น่าจะเคยเห็นกันมาบ้างไอ้เจ้าห่วงกลมที่กั้นระหว่างไมค์กับนักร้องหรือแบบโฟมหนาๆที่คลอบหัวไมค์ ซึ่งมันไม่ได้เอาไว้กันนำ้ลายเปื้อนไมค์อะไรหรอกหรืออาจใช่ก็ได้มั้ง😜 จริงๆแล้วมันเอาไว้กันหรือลดเสียง P, S, T เวลาเราพูดบางประโยคที่เสียงเหล่านั้นถูกเน้นหนักๆ เพราะมันจะทำให้เกิดเสียงลมหายใจเข้าไปในไมค์มากเกินไป ยากต่อการแก้ไข เอาจริงๆในวงการ Audio มันแก้ปัญหาเหล่านี้ได้หมดแต่ไม่ร้อยเปอร์เซ็น แต่ไม่มีเลยก็จะดีที่สุด ทั้งสามอย่างนี้จะช่วยในงานของเราดีขึ้นอย่างแน่นอน

เพียงแค่นี้ก็สามารถทำ Podcast เองได้ง่ายๆที่บ้านแล้ว แต่ต้องบอกก่อนว่าบทความนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการทำ Podcast แบบพูดเนื้อหาเองคนเดียวแล้วอัดหรือไลฟ์สด ถ้าในกรณีมีแขกรับเชิญหลายคนพูดพร้อมๆกัน หรือมีอัดเสียงพูดผ่านโทรศัพท์ หรือมีการใช้เสียง SFX (Sound Effects) แทรกระหว่างรายการ ก็ต้องเพิ่มอุปกรณ์บางอย่างเสริมเข้ามาอีก ซึ่งไม่ใช่ใจความสำคัญของบทความนี้ที่ต้องการแนะนำคนที่อยากเริ่มทำในเบื้องต้น ได้ทำแบบง่ายๆ ลงทุนในงบประมาณที่เหมาะสมไม่แพงจนเกินไป ก่อนที่จะเพิ่มอุปกรณ์เพื่อความเมามันส์ในการทำรายการ แต่ยังไงก็แล้วแต่ ลองนำข้อมูลเหล่านี้ไปเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ เพื่อที่วงการ Podcastในประเทศไทยจะมีอะไรใหม่ๆมาให้ฟังเพิ่มมากขึ้นไปอีก อาเมน สวัสดี

--

--

NunUpOrShutup
0 Followers

I write a variety of shit from my experiences and what I’m interested in at the moment. Money, Relationship, Human Psychology, Entertainment. You name it! XOXO